สล็อตออนไลน์ รองโฆษก ตร. ได้ทำการยืนยันถึงข่าวปลอมภายในกรณีการโพสต์และส่งต่อข้อความแจ้งเตือนเกี่ยวกับ เบอร์อันตราย ว่าเป็นข่าวเก่าเมื่อปี 2558 วันนี้ (14 ต.ค. 2564) – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับการยืนยันข่าวปลอม กรณีการโพสต์และส่งต่อข้อความแจ้งเตือนเกี่ยวกับ เบอร์อันตราย โดยมีเนื้อหาว่า “มีเบอร์อันตราย 02-619XXXX โทรมาอย่ารับเด็ดขาด ถ้ารับจะยืนยันการสมัครเป็นสมาชิกทันที จะโทรยกเลิกก็ทำไม่ได้ ต้องเสียเงินทุกเดือน โดนหลายรายแล้ว ข่าวจากตำรวจภาค 5 นั้น
ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ข้อความดังกล่าวเป็นเรื่องจริง แต่เป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งปัจจุบันมีการนำข้อความดังกล่าวมาแชร์ซ้ำ จนเกิดเป็นกระแสที่สร้างความตระหนกต่อประชาชนที่ได้รับโทรศัพท์จากเบอร์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
จากกรณีดังกล่าว รายการทุบโต๊ะข่าว ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์อมรินทร์ทีวี ช่อง 34 ดำเนินรายการโดย คุณพุทธ อภิวรรณ และ คุณจิตดี ศรีดี ได้รายงานข่าว : เบอร์นี้โทรมาห้ามรับ! บริษัทดังโร่ขอโทษสังคม ทำคนไทยแตกตื่นเสียเงิน เมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2558 เพื่อชี้แจงข้อมูลทำความเข้าใจกับประชาชนไม่ให้ตระหนกตกใจและแจ้งให้ประชาชนรับรู้รับทราบถึงแนวทางแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยสำนักงาน กสทช. เห็นว่าผู้ที่นำข้อความดังกล่าวมาโพสต์น่าจะมีเจตนาเพื่อให้ประชาชนป้องกันและระมัดระวังในการดำเนินการใด ๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือโดยไม่ได้ศึกษาข้อมูลอย่างถี่ถ้วน แต่อย่างไรก็ตาม การนำข้อมูลเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริงในอดีตมาเผยแพร่ผ่าน โซเชียลมีเดีย โดยมิได้เป็นผู้ประสบปัญหาด้วยตนเอง และไม่ทราบที่มาแน่ชัด อาจทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนและสับสน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท และผู้โพสต์อาจถูกบริษัท ฟ้องร้องเอาผิดได้
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกสทช. สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.nbtc.go.th หรือโทร. 02 6708888
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เป็นการนำเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริงในปี พ.ศ. 2558 มาโพสต์หรือส่งต่ออีกครั้ง ซึ่งการนำข้อความดังกล่าวมาเผยแพร่อีกครั้ง ทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนกตกใจ บริษัทฯ อาจเสียชื่อเสียง นำไปสู่การฟ้องร้องผู้โพสต์ข้อความได้
รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติกล่าวเพิ่มเติมว่า การผลิตข่าวปลอม สร้างข่าวบิดเบือน ทำให้ประเทศชาติเสียหาย ประชาชนสับสน เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14(2),(5) มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวมทั้งกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่ผลิตข่าวปลอม และผู้ที่เผยแพร่ทุกรายอย่างเด็ดขาดจริงจังและต่อเนื่องต่อไป
วัคซีนที่มีคุณภาพสูง และผลิตตามเกณฑ์มาตรฐานเดียวกันทั่วโลกไม่ว่าจะผลิตจากที่ใดก็ตาม โดยการขึ้นทะเบียนดังกล่าวมีผลทันที และครอบคลุมถึงวัคซีนที่ผลิตในประเทศไทยก่อนหน้านี้ด้วยเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้รัฐบาลในประเทศต่างๆ ยอมรับ และรับรองวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเพื่อประโยชน์ในการเดินทางที่ง่าย และสะดวกยิ่งขึ้น
‘หมอธีระ’ วิเคราะห์สถานการณ์โควิด ชี้จุดเปราะบาง 4 จุด
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กแสดงความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เมื่อวานนี้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มกว่าหมื่นราย สูงเป็นอันดับ 10 ของโลก และหากรวมผู้ที่ถูกตรวจพบเชื้อผ่าน ATK ไทยจะขยับขึ้นมาเป็นอันดับ 8 โดยหมอธีระกล่าวถึง “จุดเปราะบาง 4 ชุด” ที่กำหนดชะตาโควิดไทยปลายปีนี้
“1. จำนวนติดเชื้อใหม่ต่อวันระดับหลักหมื่น ติดท็อปเท็นของโลกอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นระดับความเสี่ยงที่สูงมากกว่าประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ยิ่งจำนวนสูงโอกาสปะทุรุนแรงขึ้นก็ย่อมมากเป็นเงาตามตัว และจะเกิดได้ภายในเวลาที่สั้นกว่าประเทศที่มีจำนวนติดเชื้อระดับต่ำ
2. ศักยภาพของระบบการตรวจคัดกรองโรคมาตรฐาน RT-PCR เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นกลไกหลักที่จะรับมือยามระบาดหนัก หากศักยภาพการตรวจจำกัด เข้าถึงได้ยาก ไม่เพียงพอ ไม่ทั่วถึง เวลาเกิดวิกฤติขึ้นมา จะจัดการควบคุมโรคได้ลำบากและใช้เวลายาวนาน
3. ชนิดวัคซีนที่ใช้ และสัดส่วนประชากรในประเทศที่ได้รับวัคซีนครบถ้วนทั้งสองโดส หากครอบคลุมมาก ก็ลดความเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรง และลดโอกาสเสียชีวิตได้มาก แต่หากประชากรยังได้วัคซีนจำนวนน้อย (นับเฉพาะที่ได้ครบสองโดส) ก็ย่อมมีความเสี่ยงต่อการป่วย และเสียชีวิตสูงยามที่ระบาดหนักขึ้นมา
4. พฤติกรรมของประชาชนจะได้รับอิทธิพลโดยตรงจากการสื่อสารสาธารณะจากรัฐ หากได้รับทราบข้อมูลที่ดี ละเอียด ชัดเจน ตรงไปตรงมา ก็จะทราบสถานการณ์ระบาดที่ถูกต้อง และตัดสินใจประพฤติปฏิบัติในการดูแลตนเอง ป้องกันตนเองได้อย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์ แต่หากได้ข้อมูลที่ไม่ชัดเจน ไม่ละเอียดเพียงพอ ก็ย่อมไม่รู้เท่าทันสถานการณ์ และกว่าจะรู้ตัว ก็อาจสายเกินกว่าจะทำอะไรได้
เหล่านี้คือสิ่งที่จำเป็นต้องพิจารณาไตร่ตรองให้ดี ก้าวช้าๆ แต่มั่นคง จะดีกว่าการรีบจ้ำ แต่ลื่นล้มจนเจ็บหนัก สำหรับประชาชนอย่างพวกเราทุกคน ขอให้ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัดเป็นกิจวัตร สล็อตออนไลน์